หมวด 3
เงินกู้สามัญ
ข้อ 14 การให้เงินกู้สามัญ ให้คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยให้เงินกู้สามัญแก่สมาชิก คณะกรรมการดำเนินการอาจแต่งตั้งคณะกรรมการเงินกู้ขึ้นตามความในข้อบังคับของสหกรณ์ ข้อ 79 (12) และ ข้อ 83 และมอบอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาวินิจฉัยให้เงินกู้สามัญแก่สมาชิกได้ โดยข้อวินิจฉัยทั้งปวงของคณะกรรมการเงินกู้ให้นำเสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาในการประชุมคราวถัดไป
ข้อ 15 คำขอกู้เงินสามัญของสมาชิกนั้น ต้องเสนอโดยผ่านการพิจารณาให้ ความเห็นดังต่อไปนี้ คือ คำขอกู้ของสมาชิกผู้ซึ่งยื่นคำขอกู้เงินสามัญไว้ คณะกรรมการดำเนินการจะพิจารณาอนุมัติตามลำดับที่ก่อนหลังของเลขที่รับเอกสารคำขอกู้เงินสามัญ ตามที่คณะกรรมการเงินกู้เสนอ โดยคำขอกู้ที่ไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการในคราวหนึ่ง ๆ ให้มีอันตกไป หากมีความจำเป็นที่จะขอกู้อีก ให้ยื่นคำขอกู้ได้ในคราว
ถัดไป
สมาชิกผู้ขอกู้เงินสามัญ จะต้องมีทุนเรือนหุ้นอยู่ในสหกรณ์ฯ นี้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของวงเงินที่ขอกู้
คณะกรรมการดำเนินการ หากมีข้อมูลอันมีเหตุผลเพื่อความมั่นคง และยึดประโยชน์แก่สหกรณ์ อาจพิจารณาไม่อนุมัติการกู้เงินสามัญรายใด ๆ ก็ได้ โดยมีการลงมติไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการดำเนินการที่มาประชุม และสมควรบันทึกเหตุผลในรายงานการประชุมไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ 16 เงินกู้สามัญที่ให้แก่สมาชิกผู้กู้คนหนึ่ง ๆ นั้น ให้มีจำนวน ดังนี้
(1) มีระยะเวลาการเป็นสมาชิกตั้งแต่ 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี ให้กู้ได้ไม่เกิน 30 เท่า
ของเงินได้รายเดือนของสมาชิกนั้น
(2) มีระยะเวลาการเป็นสมาชิกตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 2 ปี ให้กู้ได้ไม่เกิน 40 เท่า
ของเงินได้รายเดือนของสมาชิกนั้น
(3) มีระยะเวลาการเป็นสมาชิกตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 3 ปี ให้กู้ได้ไม่เกิน 50 เท่า
ของเงินได้รายเดือนของสมาชิกนั้น
(4) มีระยะเวลาการเป็นสมาชิกตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5 ปี ให้กู้ได้ไม่เกิน 60 เท่า
ของเงินได้รายเดือนของสมาชิกนั้น
(5) ระยะเวลาการเป็นสมาชิก ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ให้กู้ได้ไม่เกิน 80 เท่าของเงินได้รายเดือนของสมาชิกนั้น
ทั้งนี้ ต้องอยู่ในจำกัดวงเงินไม่เกิน 2,800,000.- บาท (สองล้านแปดแสนบาทถ้วน)
ในกรณีที่สมาชิกกู้เงินสามัญโดยมีค่าหุ้น และ/หรือ เงินฝากที่สมาชิกนั้นมีในสหกรณ์เป็นหลักประกัน ให้กู้ได้ภายในจำนวนไม่เกินร้อยละ 95 ของมูลค่าหุ้นทั้งหมด และ/หรือ เงินฝากที่สมาชิกนั้นมีในสหกรณ์ที่เป็นหลักประกัน
ข้อ 17 ถ้าคณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควรจะให้เงินกู้สามัญแก่สมาชิกที่ยังส่งเงินกู้สามัญครั้งก่อนไม่เสร็จก็ได้ แต่จำนวนเงินกู้สามัญรวมทุกรายการของสมาชิกผู้กู้คนหนึ่ง ๆ ในเวลาใดเวลาหนึ่ง จะมีจำนวนต้นเงินเกินกว่าจำนวนที่กล่าวในข้อ 16 สุดแต่กรณีไม่ได้
ข้อ 18 ในการให้เงินกู้สามัญนั้น ถ้าปรากฏว่า สหกรณ์มีเงินทุนที่จะให้กู้ได้ไม่พอแก่การขอกู้ อันมีลักษณะพึงให้กู้นั้นทุกราย ให้ถือลำดับในการพิจารณาให้เงินกู้ดังต่อไปนี้
(1) เงินกู้ซึ่งถือมูลค่าหุ้นเป็นหลักประกัน พึงให้ในลำดับก่อนเงินกู้ซึ่งมีหลักประกันอย่างอื่น
(2) ในระหว่างเงินกู้ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกันตามที่กล่าวในข้อ (1) นั้น เงินกู้ที่มี
จำนวนน้อยกว่าพึงให้ก่อน ก่อนเงินกู้ที่มีจำนวนมากเพื่อประโยชน์แห่งการนี้ จำนวนเงินกู้ที่นำมาเทียบกันนั้น ให้คิดรวมทั้งเงินกู้สามัญและเงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉินครั้งก่อนของผู้กู้ที่คงเหลืออยู่ (ถ้ามี) ด้วย
ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่คณะกรรมการดำเนินการ และคณะกรรมการเงินกู้เห็นว่ามีเหตุผลพิเศษ จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นก็ได้
ข้อ 19 หลักประกันสำหรับเงินกู้สามัญ ถ้าเงินกู้สามัญรายนั้น โดยเฉพาะครั้งเดียวก็ดี หรือเมื่อรวมกับเงินกู้สามัญครั้งก่อนของ
ผู้กู้ที่คงเหลืออยู่ (ถ้ามี) ก็ดี มีจำนวนไม่เกินกว่าร้อยละ 95 ของมูลค่าหุ้น ที่ผู้กู้มีอยู่ในสหกรณ์ก็ไม่ต้องมีหลักประกันอย่างอื่นอีก
ถ้าเงินกู้สามัญรายนั้น โดยเฉพาะครั้งเดียวก็ดี หรือเมื่อรวมกับเงินกู้สามัญครั้งก่อนของผู้กู้ (ถ้ามี) ก็ดี มีจำนวนเกินกว่าร้อยละ 95 ของมูลค่าหุ้น ซึ่งผู้กู้มีอยู่ในสหกรณ์ ก็ต้องมีหลักประกันอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) มีสมาชิกที่มิได้เป็นคู่สมรสของผู้กู้ ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการ หรือ คณะกรรมการเงินกู้เห็นสมควรอย่าง
น้อยหนึ่งคน ค้ำประกันอย่างไม่จำกัดเพื่อหนี้สินเกี่ยวกับเงินกู้สามัญรายนั้น แต่ถ้าผู้กู้มีเงินกู้สามัญครั้งก่อนเหลืออยู่ด้วย ก็ต้องให้ค้ำประกันเพื่อ
หนี้สินเกี่ยวกับเงินกู้สามัญครั้งใหม่นั้นทั้งหมด
เพื่อความมั่นคงในการให้เงินกู้สามัญ คณะกรรมการดำเนินการหรือคณะกรรมการเงินกู้ผู้มีอำนาจวินิจฉัยเรียกให้มีผู้ค้ำประกันมากกว่าหนึ่งคนได้ โดยให้มีผู้ค้ำประกัน ดังนี้
วงเงินกู้สามัญ วงเงินไม่เกิน 300,000.- บาท ใช้ผู้ค้ำประกันอย่างน้อย 1 คน
วงเงินกู้สามัญ วงเงินเกิน 300,001.- บาท ถึง 1,000,000.- บาท ใช้ผู้ค้ำประกันอย่างน้อย 2 คน
วงเงินกู้สามัญ วงเงินเกิน 1,000,001.- บาท ถึง 1,500,000.- บาท ใช้ผู้ค้ำประกันอย่างน้อย 3 คน
และมีหลักประกันร่วมด้วยโดยการเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย (สสธท.)
วงเงินกู้สามัญ วงเงินตั้งแต่ 1,500,001.- บาท ถึง 2,500,000.- บาท ใช้ผู้ค้ำประกันอย่างน้อย 3 คน
และมีหลักประกันร่วมด้วยโดยการเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย(สสธท.) และสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์สมาชิกของชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย(สส.ชสอ.)
โดยมีหลักปฏิบัติ ดังนี้
1. สมาชิกที่ยื่นกู้สามัญในเดือน มกราคม 2559 หลักปฏิบัติเหมือนเดิม วงเงินกู้ไม่เกิน 2,800,000.- บาท
(สองล้านแปดแสนบาทถ้วน) ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 250 งวด
2. สมาชิกที่ยื่นกู้สามัญตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2559 เป็นต้นไป วงเงินกู้ไม่เกิน 2,500,000.- บาท
(สองล้านห้าแสนบาทถ้วน) โดยมีระยะเวลาผ่อนชำระ ดังนี้
เดือน กุมภาพันธ์ 2559 ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 250 งวด
เดือน มีนาคม - เมษายน 2559 ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 240 งวด
เดือน พฤษภาคม - มิถุนายน 2559 ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 230 งวด
เดือน กรกฎาคม - สิงหาคม 2559 ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 220 งวด
เดือน กันยายน - ตุลาคม 2559 ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 210 งวด
เดือน พฤศจิกายน 2559 เป็นต้นไป ระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 200 งวด
ยกเว้นสมาชิกที่กู้โดยใช้หุ้นค้ำประกันให้กู้ได้โดยไม่จำกัดวงเงินกู้ แต่ไม่เกินร้อยละ 95 ของทุนเรือนหุ้น และมีระยะเวลาการผ่อนชำระไม่เกิน 250 งวด
สมาชิกคนหนึ่งจะเป็นผู้ค้ำประกันสำหรับผู้กู้มากกว่าสี่คนในเวลาเดียวกันไม่ได้ และสมาชิกคนหนึ่ง จะมีหนี้สินต่อสหกรณ์ในฐานะผู้ค้ำประกันโดยจำนวนต้นเงินคงเหลือของทุกคนรวมกัน ซึ่งได้ไปค้ำประกันไว้ ณ วันที่พิจารณา
จะมีจำนวนรวมเกินกว่าจำกัดที่กล่าวในข้อ 16 วรรคแรกไม่ได้
เมื่อผู้ค้ำประกันรายใดตาย หรือออกจากสหกรณ์ ไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ หรือมีเหตุที่คณะกรรมการดำเนินการ หรือ คณะกรรมการเงินกู้เห็นว่าไม่สมควรที่จะเป็นผู้ค้ำประกันต่อไป ผู้กู้ต้องจัดให้สมาชิกอื่นซึ่งคณะกรรมการดำเนินการ หรือ คณะกรรมการเงินกู้เห็นสมควรเข้าเป็นผู้ค้ำประกันแทนคนเดิมให้เสร็จภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการดำเนินการ หรือคณะกรรมการเงินกู้กำหนด
การให้สมาชิกผู้ค้ำประกันออกจากสหกรณ์ไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ ไม่เป็นเหตุให้ผู้นั้นหลุดพ้นจากการค้ำประกันจนกว่าผู้กู้ได้จัดให้สมาชิกอื่น ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการหรือคณะกรรมการเงินกู้เห็นสมควรเข้าเป็นผู้ค้ำประกันแทน
อนึ่ง ภายหลังการทำหนังสือค้ำประกัน ถ้าสมาชิกผู้ค้ำประกันได้เป็นคู่สมรสของผู้กู้ ผู้กู้จะต้องจัดให้มีสมาชิกอื่น ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการ หรือ คณะกรรมการเงินกู้เห็นสมควรเป็นผู้ค้ำประกันแทน ทั้งนี้ การเปลี่ยนผู้ค้ำประกันใหม่ทุกกรณี ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกันตามหนังสือสัญญาเดิมที่ยังคงภาระค้ำประกันอยู่เป็นลายลักษณ์อักษรต่อหน้าเจ้าหน้าที่สหกรณ์เป็นพยาน
(2) มีบัญชีเงินฝากในสหกรณ์ ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการ หรือ คณะกรรมการเงินกู้เห็นสมควรจำนำเป็นประกันโดยจำนวนเงินกู้อยู่ภายในร้อยละ 95 แห่งค่าของบัญชีเงินฝากที่สมาชิกนั้นมีในสหกรณ์
ข้อ 20 การส่งเงินงวดสำหรับชำระหนี้เงินกู้สามัญ โดยคณะกรรมการดำเนินการ หรือคณะกรรมการเงินกู้พิจารณา กำหนดให้ผู้ส่งเงินกู้สามัญเป็นงวดรายเดือนเท่ากัน พร้อมดอกเบี้ยเป็นจำนวนกี่งวด ก็สุดแต่จะเห็นเป็นการสมควรตามฐานะของผู้กู้ จำนวนและความมุ่งหมายแห่งเงินกู้ แต่ไม่เกิน 250 งวด ตั้งแต่เดือนที่คิดดอกเบี้ยเดือนแรก โดยที่งวดสุดท้ายที่ต้องส่งต่อสหกรณ์ ให้เป็นไปดังนี้
(1) ผู้กู้ที่เป็นข้าราชการงวดสุดท้ายที่ต้องส่งต่อสหกรณ์ ผู้กู้จะต้องมีอายุไม่เกิน 75 ปี
(2) ผู้กู้ที่เป็นลูกจ้างประจำที่รับบำนาญงวดสุดท้ายที่ต้องส่งต่อสหกรณ์ ผู้กู้จะต้องมีอายุไม่เกิน 75 ปี
หมายเหตุ (1) และ (2) หลักการปฏิบัติหลังจากการประกาศใช้ระเบียบนี้ จะเริ่มจาก ผู้กู้จะต้องมีอายุไม่เกิน 90 ปี ก่อน
ในปีบัญชี 2559 ปีถัดไปเป็น 80 ปี ในปีบัญชี 2560 และ 75 ปี ในปีบัญชี 2561 เพื่อเป็นการให้สมาชิกปรับสภาพตัวเอง
ในการบังคับใช้ระเบียบนี้
ทั้งนี้ (1) , (2) ให้ยกเว้นเงินกู้นั้นมีจำนวนไม่เกินกว่าร้อยละ 95 ของมูลค่าหุ้นและ / หรือ เงินฝากที่สมาชิกนั้นมีในสหกรณ์
สำหรับผู้กู้ที่เป็นสมาชิกสามัญของสหกรณ์ที่จะเกษียณอายุราชการโดยขอรับบำเหน็จ ต้องมาทำสัญญากับสหกรณ์ภายใน
30 วันก่อนเกษียณอายุราชการ เพื่อชำระหนี้ให้กับสหกรณ์ทั้งหมด ทั้งนี้ให้ยกเว้นเงินที่ขอกู้นั้นมีจำนวนไม่เกินกว่าร้อยละ 95 ของมูลค่าหุ้น
และ/หรือเงินฝากที่สมาชิกนั้นมีในสหกรณ์
สมาชิกสามัญของสหกรณ์ที่จะเกษียณอายุราชการโดยขอรับบำเหน็จ คณะกรรมการดำเนินการอาจพิจารณาอนุมัติให้กู้ได้ตามสิทธิข้อ 16 และให้มีระยะเวลาผ่อนชำระได้ไม่เกิน 250 งวด ทั้งนี้ สมาชิกดังกล่าวจะต้องมี ทุนเรือนหุ้น และเงินบำเหน็จหรือสวัสดิการอื่นที่เพียงพอต่อการชำระหนี้งวดสุดท้าย
ผู้กู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป สหกรณ์จะพิจารณาวงเงินกู้ให้อยู่ในวงเงินผลประโยชน์ที่ได้รับเมื่อสมาชิกเสียชีวิต ได้แก่ บำเหน็จตกทอด การฌาปนกิจสงเคราะห์ของกระทรวงสาธารณสุข (ฌกส.) ฌาปนกิจสงเคราะห์สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย (สสธท.) ฌาปนกิจสงเคราะห์สหกรณ์สมาชิกของชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย (สส.ชสอ.) สวัสดิการของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขอุทัยธานี จำกัด และอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด รวมกับทุนเรือนหุ้น
ในกรณีที่ผู้กู้มีคำขอเป็นหนังสือ คณะกรรมการดำเนินการเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรผ่อนผัน คณะกรรมการดำเนินการ
อาจพิจาณาผ่อนเวลาการส่งเงินงวดชำระหนี้ให้ได้เฉพาะต้นเงิน สำหรับเงินกู้สามัญที่กำหนดไว้ตามความในวรคก่อนนั้น ให้แก่ผู้กู้ครั้งละไม่เกิน
สามงวด แต่ต้องไม่เกินสามครั้งในหนึ่งปีบัญชีสหกรณ์ ทั้งนี้ ผู้ค้ำประกันจะได้ตกลงด้วยในการผ่อนเวลานั้น
|