ระเบียบ
สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขอุทัยธานี จำกัด
ว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ.2544
-------------------------------
อาศัยอำนาจความในข้อบังคับสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขอุทัยธานี จำกัด ตามข้อ63(9) และ ข้อ84 (7) ในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ชุดที่ 12 ครั้งที่ 9 / 2544 วันที่ 25 สิงหาคม 2544 ได้กำหนดระเบียบว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2544 ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2544"
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2544 เป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิก
(1) ระเบียบว่าด้วยการพัสดุ การจัดซื้อ การจัดจ้าง พ.ศ.2538 ซึ่งกำหนดไว้เมื่อวันที่ 1 เดือน
กันยายน พ.ศ.2538
หมวด 1
บททั่วไป
ข้อ 4 ในระเบียบนี้
"การพัสดุ" หมายความว่า การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบ และควบคุมงาน การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย และการดำเนินการอื่นๆ ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
"พัสดุ" หมายถึง วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
"การซื้อ" หมายถึง การซื้อพัสดุทุกชนิดทั้งที่มีการติดตั้ง ทดลอง และบริการที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ แต่ไม่รวมถึงการจัดหาพัสดุในลักษณะการจ้าง
"การจ้าง" หมายถึง การจ้างทำของ และการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์การจ้างเหมาบริการทุกประเภท
"ผู้จัดการ" หมายถึง ผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขอุทัยธานีจำกัด หรือผู้ทำหน้าที่ผู้จัดการ
"ประธานกรรมการดำเนินการ" หมายถึง ประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขอุทัยธานี จำกัด
"คณะกรรมการดำเนินการ" หมายถึง คณะกรรมการดำเนินการที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมสามัญประจำปี (ประชุมใหญ่)
"คณะกรรมการ" หมายถึง คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำเนินการตามระเบียบนี้
"เจ้าหน้าที่พัสดุ" หมายถึง เจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขที่ได้รับมอบหมาย หรือแต่งตั้งจากผู้จัดการให้ทำหน้าที่ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัสดุตามระเบียบนี้
หมวด 2
การซื้อ การจ้าง
ข้อ 5 การดำเนินการการซื้อ การจ้างให้ดำเนินการได้ภายในวงเงินประมาณการรายจ่ายประจำปีของสหกรณ์
ข้อ 6 การซื้อ การจ้าง ให้ดำเนินการได้ 4 วิธี คือ
(1) วิธีตกลงราคา
(2) วิธีสอบราคา
(3) วิธีประกวดราคา
(4) วิธีพิเศษ
ข้อ 7 การซื้อ การจ้าง โดยวิธีตกลงราคา ได้แก่การซื้อ การจ้าง ครั้งหนึ่งมีราคา ไม่เกิน 100,000 บาท
ข้อ 8 การซื้อ การจ้าง โดยวิธีสอบราคา ได้แก่การซื้อ การจ้าง ครั้งหนึ่งมีราคาเกิน 100,000 แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท
ข้อ 9 การซื้อ การจ้าง โดยวิธีประกวดราคา ได้แก่การซื้อ การจ้าง ครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 2,000,000 บาท
ข้อ 10 การซื้อ การจ้าง โดยวิธีพิเศษ ได้แก่การซื้อ การจ้าง ครั้งหนึ่งมีราคาเกิน 100,000 บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีใด ดังต่อไปนี้
(1) เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาดโดยส่วนราชการ
(2) เป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายได้
(3) เป็นพัสดุที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่จำเป็น หรือเร่งด่วน
4) เป็นพัสดุที่เป็นที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง
(5) เป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี
ข้อ 11 ก่อนการดำเนินการซื้อ การจ้าง ให้เจ้าหน้าที่พัสดุ จัดทำรายงานเสนอประธานกรรมการดำเนินการ ผ่านผู้จัดการ เพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยให้รายละเอียด ดังนี้
(1) เหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องซื้อหรือจ้าง
(2) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง
(3) ราคามาตรฐานหรือราคากลางให้ใช้ของทางราชการเป็นเกณฑ์ โดยอนุโลม
(4) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง
(5) วิธีการซื้อหรือจ้าง
(6) ระยะเวลาในการดำเนินการซื้อหรือจ้างแล้วเสร็จ
(7) ออกประกาศสอบราคา หรือประกาศประกวดราคา
ข้อ 12 เมื่อประธานกรรมการดำเนินการอนุมัติตามรายงานที่เสนอตามข้อ 11 แล้ว ให้ผู้จัดการดำเนินการตามระเบียบนี้ต่อไป
หมวด 3
คณะกรรมการ
ข้อ 13 ในการซื้อ การจ้างแต่ละครั้งยกเว้น วิธีตกลงราคา ให้คณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งกรรมการขึ้นแต่ละคณะอย่างน้อย 3 คน ประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คน กรรมการอย่างน้อย 2 คน โดยแต่งตั้งจากคณะกรรมการดำเนินการหรือสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์หรือบุคคลภายนอกที่มีความรู้เกี่ยวกับการซื้อ การจ้าง ดังนี้
(1) คณะกรรมการรับและเปิดซองสอบราคา
(2) คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา
(3) คณะกรรมการพิจารณาผลสอบราคา
(4) คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา
(5) คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ
(6) คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ
(7) คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
(8) คณะกรรมการตรวจการจ้าง
ข้อ 14 ในกรณีที่ประธานกรรมการตามข้อ 13 (1) , (2) ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ และเมื่อถึงกำหนดเวลารับและเปิดซองสอบราคา หรือรับและเปิดซองประกวดราคา ประธานกรรมการยังไม่มาปฏิบัติหน้าที่ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานกรรมการแทน โดยให้คณะกรรมการดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่เฉพาะข้อ 20 (1) หรือ ข้อ 25 แล้วแต่กรณี แล้วรายงานประธานกรรมการเพื่อดำเนินการต่อไป
ข้อ 15 ในการซื้อ การจ้าง ครั้งเดียวกัน ห้ามแต่งตั้งผู้เป็นกรรมการรับและเปิดซองสอบราคา หรือประกวดราคาเป็นกรรมการพิจารณาผลการสอบราคาหรือประกวดราคา เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ
ข้อ 16 คณะกรรมการแต่ละคณะในการประชุม ต้องมีไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดและมติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมากถ้าคะแนนเท่ากัน ให้ประธานกรรมการออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นชี้ขาด เว้นแต่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุและคณะกรรมการตรวจการจ้างให้ถือมติเอกฉันท์
ข้อ 17 การจ้างแต่ละครั้ง ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งผู้ควบคุมงานที่มีความรู้ ความชำนาญ ด้านช่างตามลักษณะของงานก่อสร้างจากคณะกรรมการดำเนินการ ในกรณีจำเป็นจะต้องจ้างสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้ควบคุมงาน ให้สามารถทำได้โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการดำเนินการผู้ควบคุมงานควรมีคุณวุฒิตามที่คณะกรรมการดำเนินการเสนอแนะและโดยปกติจะต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
วิธีการซื้อ การจ้าง
วิธีตกลงราคา
ข้อ 18 การซื้อ การจ้างโดยวิธีตกลงราคา ให้คณะกรรมการและผู้จัดการติดต่อตกลงราคากับผู้ขายหรือผู้จ้างโดยตรง แล้วการซื้อ การจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากประธานกรรมการตามข้อ 12 สำหรับวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท ให้แต่งตั้งกรรมการตรวจรับพัสดุ 1 คนสำหรับวงเงินเกิน 10,000 บาท ให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุอย่างน้อย 3 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน กรรมการอย่างน้อย 2 คน
วิธีสอบราคา
ข้อ 19 ให้ผู้จัดการจัดทำเอกสารสอบราคา การประกาศ การยื่นซองและการรับซองสอบราคาโดยกำหนดให้ส่งประกาศสอบราคาก่อนการเปิดซองสอบราคาไม่น้อยกว่า 10 วัน และอย่างน้อยให้มีรายละเอียดตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องการสอบราคาโดยอนุโลม
ข้อ 20 คณะกรรมการรับและเปิดซองสอบราคามีหน้าที่ดังนี้
(1) เปิดซองใบเสนอราคา แจ้งราคาพร้อมรายการเอกสารหลักฐานของผู้เสนอราคาทุกรายโดยเปิดเผย ตามวันเวลา และสถานที่ที่กำหนด และให้คณะกรรมการทุกคนลงลายมือกำกับไว้ในใบเสนอราคาและเอกสารประกอบใบเสนอราคาทุกแผ่น
(2) ตรวจสอบคุณสมบัติและเอกสารประกอบการเสนอราคาแล้วคัดเลือกผู้ที่เสนอราคาถูกต้องตามเงื่อนไขในเอกสารสอบราคาซึ่งเสนอราคาต่ำสุด
(3) ในกรณีที่ผู้เสนอราคาต่ำสุดไม่ยอมเข้าทำสัญญาหรือข้อตกลงกับสหกรณ์ออมทรัพย์ในเวลาที่กำหนดตามเอกสารสอบราคา ให้คณะกรรมการพิจารณาจากผู้เสนอราคาต่ำรายถัดไปตามลำดับ
(4)ในกรณีมีผู้เสนอราคาเท่ากันหลายรายให้เรียกผู้เสนอราคาดังกล่าวมาเสนอราคาใหม่ โดยวิธียื่นซองเสนอราคา
(5) รายงานผลการพิจารณาพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อคณะกรรมการดำเนินการเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ซื้อ หรือจ้าง
ข้อ 21 การซื้อหรือการจ้าง โดยวิธีสอบราคาที่ปรากฏว่าราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้าง สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ให้คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาเรียกผู้เสนอราคามาต่อรองราคาให้อยู่ในวงเงิน หากผู้เสนอราคาไม่ยินยอมลดวงเงินตามที่คณะกรรมการต่อรอง ให้คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา รายงานผลให้ประธานกรรมการทราบเพื่อยกเลิกการสอบราคาและดำเนินการสอบราคาใหม่
วิธีประกวดราคา
ข้อ 22 ให้ผู้จัดการจัดทำเอกสารประกวดราคา โดยอย่างน้อยให้มีรายละเอียดตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม เรื่องการประกวดราคาโดยอนุโลม
ข้อ 23 การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกวดราคา ให้ผู้จัดการปิดประกาศประกวดราคาโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขอุทัยธานี จำกัด และให้ส่งประกาศขอความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์ไปยัง สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอุทัยธานี, สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์อุทัยธานี และจังหวัดใกล้เคียงและอย่างน้อยจะต้องส่งประกาศไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้น 3 ราย และส่งไปประกาศวิทยุกระจายเสียงและประกาศในหนังสือพิมพ์กรมประชาสัมพันธ์ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ศูนย์รวมข่าวประกวดราคาโดยการปิดประกาศและจัดส่งประกาศจะต้องทำก่อนวันรับซองประกวดราคาไม่น้อยกว่า 20 วัน และจะต้องเริ่มขายก่อนวันรับซองไม่น้อยกว่า 10 วัน และให้มีช่วงเวลาในการให้หรือขายไม่น้อยกว่า 10 วัน
ข้อ 24 การขายแบบ ให้กำหนดราคาพอสมควรกับค่าใช้จ่ายในการจัดทำเอกสารประกวดราคานั้นโดยให้ถือเป็นรายได้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ และในกรณีที่มีการยกเลิกการประกวดราคาและมีการประกวดราคาใหม่ ให้ผู้ที่ซื้อเอกสารครั้งก่อนมีสิทธิ์ใช้เอกสารประกวดราคาครั้งก่อนในการประกวดราคาครั้งใหม่ได้
ข้อ 25 คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา มีหน้าที่ดังนี้
(1) รับซองประกวดราคาและลงทะเบียนรับซองประกวดราคาและลงชื่อกำกับซองไว้เป็นหลักฐาน
(2) ตรวจสอบหลักประกันซองร่วมกับเจ้าหน้าที่การเงินของสหกรณ์และให้เจ้าหน้าที่การเงินออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นซองไว้เป็นหลักฐาน กรณีหลักประกันซองเป็นหนังสือค้ำประกันให้ส่งสำเนาหนังสือค้ำประกันให้ธนาคารหรือผู้ออกหนังสือค้ำประกันทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
(3) เมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองแล้ว ห้ามรับซองประกวดราคาหรือเอกสารหลักฐานต่างๆ จากผู้เสนอราคา
(4) เปิดซองใบเสนอราคา และอ่านแจ้งราคาพร้อมบัญชีรายการเอกสารหลักฐานต่างๆ ของผู้เสนอราคาทุกรายโดยเปิดเผยตามวันเวลา และสถานที่ที่กำหนดและให้กรรมการลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคาและเอกสารประกอบใบเสนอราคาทุกแผ่น
(5) ส่งมอบใบเสนอราคาทั้งหมดและเอกสารหลักฐานต่างๆ พร้อมด้วยบันทึกรายการ
ดำเนินงานต่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาในวันเดียวกัน
ข้อ 26 คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคามีหน้าที่ ดังนี้
(1)ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา เอกสารหลักฐานต่าง ๆ พัสดุ ตัวอย่างแคตล็อก หรือ
แบบรูปรายละเอียด แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไข และ เอกสารประกวดราคา
(2)พิจารณาคัดเลือกสิ่งของหรืองานจ้างซึ่งมีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อทางสหกรณ์แล้วเสนอให้ซื้อหรือจ้าง จากผู้ที่เสนอราคารายที่คัดเลือกไว้แล้วซึ่งเสนอราคาต่ำสุด
(3)ในกรณีที่ผู้เสนอราคาต่ำสุดไม่ยอมเข้าทำสัญญาหรือข้อตกลงกับสหกรณ์ออมทรัพย์ในเวลาที่กำหนดประกาศประกวดราคา ให้คณะกรรมการพิจารณาจากผู้เสนอราคาต่ำรายถัดไปตามลำดับ
(4)ถ้าผู้เสนอราคาเท่ากันหลายราย ให้เรียกผู้เสนอราคาดังกล่าวมาขอให้เสนอราคาใหม่ พร้อมกันโดยวิธียื่นซองเสนอราคา
(5)ถ้าปรากฏว่าราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างสูงกว่า วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาดำเนินการตามข้อ 21 โดยอนุโลม
ข้อ 27 เมื่อคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาได้พิจารณาตามข้อ 26 แล้ว ปรากฏว่ามีผู้เสนอราคารายเดียวกันหรือมีหลายรายแต่ถูกต้องตามรายละเอียดและเงื่อนไขรายเดียว โดยปกติให้ยกเลิกการประกวดราคา แต่ถ้าคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาเห็นว่ามีเหตุผลสมควรไม่ต้องยกเลิกการประกวดราคาก็ให้ดำเนินการตามข้อ 26 (2)
ข้อ 28 ในกรณีไม่มีผู้เสนอราคาหรือมีแต่ไม่ถูกต้อง ให้คณะกรรมการเสนอประธานกรรมการยกเลิกการประกวดราคาเพื่อดำเนินการประกวดราคาใหม่
ข้อ 29 เมื่อดำเนินการตามข้อ 26 ได้ผู้เสนอราคาแล้วให้คณะกรรมการรายงานผล
การพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับต่อคณะกรรมการดำเนินการเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ซื้อหรือจ้าง
วิธีพิเศษ
ข้อ 30 การซื้อโดยวิธีพิเศษเฉพาะกรณีดังนี้
(1) ในกรณีเป็นพัสดุจะขายทอดตลาด โดยส่วนราชการ
(2)ในกรณีที่เป็นพัสดุที่ต้องการซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจเสียหายต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ให้เชิญผู้มีอาชีพขายพัสดุนั้นโดยตรงมาเสนอราคาและต่อรองราคาลงเท่าที่จะทำ ได้หากราคายังสูงกว่าราคาในท้องตลาดหรือราคากลางให้เสนอคณะกรรมการเพื่อ พิจารณาอนุมัติให้ซื้อ
(3) ในกรณีที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี ให้สืบราคาจากผู้มีอาชีพขายพัสดุนั้นโดยตรงและผู้เสนอราคาเดิมที่ถูกยกเลิก หากเห็นว่าราคาขายที่เห็นสมควรซื้อเสนอราคาสูงกว่าในท้องตลาด หรือราคากลางให้เสนอ คณะกรรมการดำเนินการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
(4) ในกรณีที่พัสดุเป็นที่ดินและสิ่งก่อสร้างซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง ให้เชิญเจ้าของที่ดินโดยตรงมา
เสนอราคา และต่อรองราคา และนำเสนอคณะกรรมการดำเนินการเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ซื้อ
ข้อ 31 ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมเอกสารที่ได้รับต่อคณะกรรมการดำเนินการเพื่อพิจารณาอนุมัติให้ซื้อ
ข้อ 32 การจ้างโดยวิธีพิเศษ ให้คณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการจ้างโดยวิธีพิเศษเพื่อดำเนินการเฉพาะกรณี ดังนี้
(1) เป็นงานจ้างที่ต้องการจ้างช่างผู้มีฝีมือโดยเฉพาะ
(2) เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุที่จำเป็นต้องถอดตรวจให้ทราบความชำรุดเสียหายก่อนถึงประมาณค่าซ่อมได้
(3) เป็นงานที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจเสียหายต่อสหกรณ์ออมทรัพย์
(4) เป็นงานที่ได้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี
ข้อ 33 การจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ 32 ให้คณะกรรมการเชิญผู้มีอาชีพรับจ้างทำงานนั้นโดยตรงมาเสนอราคาและต่อรองราคา และในกรณีเป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดีให้สืบราคารายที่สมควรจ้างเสนอราคาสูงกว่าราคาในท้องตลาดหรือราคากลางให้เสนอคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาอนุมัติ
ข้อ 34 ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมเอกสารที่ได้รับต่อคณะกรรมการดำเนินการเพื่อพิจารณาอนุมัติให้จ้าง
หมวด 5
อำนาจในการสั่งซื้อ สั่งจ้าง
ข้อ 35 อำนาจและวงเงินในการสั่งซื้อสั่งจ้าง ยกเว้นวิธีตกลงราคาให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการดำเนินการ หรือคณะกรรมการดำเนินการ อาจมอบให้ประธานกรรมการ, เหรัญญิก, เลขานุการ หรือผู้จัดการดำเนินการแทนได้ โดยผู้ได้รับมอบอำนาจ จะมอบอำนาจต่อให้ผู้อื่นอีกมิได้
หมวด 6
การตรวจรับพัสดุ
ข้อ 36 คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ มีหน้าที่ดังนี้
(1) ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของสหกรณ์ออมทรัพย์หรือสถานที่ที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง
(2) ตรวจรับพัสดุ ให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐาน โดยปกติให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่ง และดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
(3) ถ้ากรรมการตรวจรับถูกต้องครบถ้วนแล้วให้ลงชื่อไว้เป็นหลักฐานในใบตรวจรับพัสดุอย่างน้อย 2 ฉบับ มอบแก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุของสหกรณ์เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงินต่อไป
(4) ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุไม่ถูกต้องครบตามจำนวน และไม่ครบถ้วนตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง และให้รีบรายงานคณะกรรมการดำเนินการทราบทันที เพื่อพิจารณาปรับผู้ขายหรือผู้รับจ้างในจำนวนที่ส่งมอบไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนต่อไป
(5) ถ้ากรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับพัสดุโดยทำความเห็นแย้งไว้ ให้เสนอคณะกรรมการดำเนินการเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
ข้อ 37 คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ ดังนี้
(1) ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมต่างๆ ที่ผู้ควบคุมงานรายงานโดยตรวจสอบแบบ รายละเอียด และข้อกำหนดในสัญญาทุกสัปดาห์ รวมทั้งรับทราบและพิจารณาสั่งหยุดงานหรือพักงานของผู้ควบคุมงาน แล้วรายงานประธานกรรมการเพื่อพิจารณา แล้วรายงานประธานกรรมการดำเนินการเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
(2)ให้ตรวจผลงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ประธานกรรมการตรวจการจ้างได้รับทราบการส่งมอบงาน
(3)เมื่อตรวจเห็นว่าเป็นการถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามแบบรายละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาแล้ว
ให้ทำใบรับรองผลงานทั้งหมด หรือเฉพาะงวดแล้วแต่กรณี โดยลงชื่อ ไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย 2 ฉบับ มอบให้แก่ผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุของสหกรณ์ 1 ฉบับ เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงิน ต่อไป
(4)ในกรณีที่เห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใด ไม่เป็นไปตามแบบรูปรายละเอียด และข้อกำหนดในสัญญาให้รายงานประธานกรรมการเพื่อทราบและพิจารณาสั่งการ
(5) ในกรณีที่กรรมการตรวจการจ้างบางคนไม่ยอมรับงาน โดยทำความเห็นแย้งไว้ ให้เสนอคณะกรรมการดำเนินการเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
ข้อ 38 ผู้ควบคุมงานมีหน้าที่ดังนี้
(1) ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่ที่กำหนดในสัญญา หรือข้อตกลงให้ทำงานจ้างนั้นๆ ทุกวัน ให้เป็นไปตามแบบ และรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาทุกประการ ถ้า
ผู้รับจ้างขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็ให้สั่งหยุดงานนั้นไว้ก่อน จนกว่าผู้รับจ้างจะยอมปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำสั่ง และให้รีบรายงานให้ประธานกรรมการตรวจการจ้างทราบทันที
(2) บันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวัน พร้อมทั้งผลการปฏิบัติงานอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์ และรายงานประธานกรรมการเมื่องานแต่ละงวดแล้วเสร็จ บันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างให้ระบุรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานและวัสดุที่ใช้ด้วย
(3)รายงานวันกำหนดลงมือทำงานของผู้รับจ้าง รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างตามงวดงานในวันถึงกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวดให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบภายใน 3 วัน นับแต่วันถึงกำหนด
หมวด 7
การเช่า
ข้อ 39 การเช่าสังหาริมทรัพย์และการเช่าอสังหาริมทรพัย์ตามระเบียบนี้ให้กระทำได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดำเนินการ ทั้งนี้ให้นำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม ในเรื่องการเช่ามาใช้โดยอนุโลม
หมวด 8
สัญญาและหลักประกัน
ข้อ 40 การลงนามในสัญญาตามระเบียบนี้เป็นอำนาจของประธานกรรมการโดยให้ใช้แบบสัญญาตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม โดยอนุโลม
ข้อ 41 การดำเนินการต่อไปนี้ให้จัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือให้ประธานกรรมการเป็นผู้ลงนามในบันทึกข้อตกลง
(1) การซื้อการจ้างโดยวิธีตกลงราคา
(2) การซื้อการจ้าง ที่คู่สัญญาสามารถส่งมอบพัสดุได้ครบถ้วนภายในห้าวันทำการของ สหกรณ์ออมทรัพย์นับตั้งแต่วันถัดจากวันทำข้อตกลงเป็นหนังสือ
(3) การซื้อโดยวิธีพิเศษตามข้อ 30 (1), (2)
(4) การจ้างโดยวิธีพิเศษตามข้อ 32 (1), (2), (3)
ข้อ 42 การทำสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวัน ในอัตราตายตัวระหว่างร้อยละ 0.01–0.20 ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ เว้นแต่การจ้างซึ่งต้องการผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกัน ให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวัน เป็นจำนวนเงินตายตัวในอัตราร้อยละ 0.01–0.10 ของราคางานจ้างนั้น แต่จะต้องไม่ต่ำกว่าวันละ 100 บาท
(1)การกำหนดค่าปรับตามวรรคหนึ่งในอัตราหรือเป็นจำนวนเงินเท่าใดให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการดำเนินการ
(2)ในกรณีการซื้อ การจ้างหาสิ่งของที่ประกอบเป็นชุด ถ้าขาดส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ แม้คู่สัญญาจะส่งมอบสิ่งของภายในกำหนดตามสัญญา แต่ยังขาดส่วนประกอบบางส่วนต่อมาได้ส่งมอบส่วนประกอบที่ยังขาดนั้นเกินกำหนดสัญญาให้ถือว่าไม่ได้ส่งมอบสิ่งของนั้นเลย ให้ปรับเต็มราคาของทั้งชุด
(3)ในกรณีที่การจัดหาสิ่งของคิดราคารวมทั้งค่าติดตั้ง หรือทดลองด้วย ถ้าติดตั้งหรือทดลองเกินกว่ากำหนดตามสัญญาเป็นจำนวนวันเท่าใด ให้ปรับเป็นรายวัน ในอัตราที่กำหนดของราคาทั้งหมด
(4)เมื่อครบกำหนดส่งมอบพัสดุตามสัญญาหรือข้อตกลงให้สหกรณ์ออมทรัพย์รีบแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงจากคู่สัญญา และเมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุให้ สหกรณ์อาจสงวนสิทธิ์ การเรียกค่าปรับในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย
ข้อ 43 สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่ลงนามแล้ว จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้ เว้นแต่การแก้ไขนั้นจะเป็นความจำเป็นโดยไม่ทำให้สหกรณ์ออมทรัพย์นั้นเสียประโยชน์ หรือเป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ให้อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการดำเนินการที่จะพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
ข้อ 44 ให้คณะกรรมการดำเนินการพิจารณาใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงในกรณีที่มีเหตุอันเชื่อได้ว่า ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือในกรณีที่เป็นประโยชน์แก่ทางสหกรณ์ออมทรัพย์โดยตรง หรือในกรณีเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของสหกรณ์ออมทรัพย์ในการที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น ต่อไป
ข้อ 45 ให้คณะกรรมการที่ไม่มีระเบียบกำหนดไว้ และมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่จะใช้สิทธิตามเงื่อนไขของสัญญาหรือข้อตกลง หรือข้อกฏหมาย ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการดำเนินการที่จะพิจารณาใช้สิทธิดังกล่าวสั่งการได้ตามความจำเป็น
ข้อ 46 หลักประกันซองหรือหลักประกันสัญญา ให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) เงินสด
(2) หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศ (ตามแผนที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐ
|