ระเบียบ ว่าด้วยการรับฝากเงินของสมาชิกสมทบ พ.ศ.2553
Posted: admin Date: 2017-07-25 16:09:58
IP: 110.169.195.54
 

                                                                                                      ระเบียบ

สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขอุทัยธานี  จำกัด

ว่าด้วย การรับฝากเงินของสมาชิกสมทบ

.ศ. 2553

--------------------------------

                                อาศัยอำนาจตามความในข้อบังคับของสหกรณ์        ข้อ 79 (9)  และข้อ 100 (7)     และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ      ชุดที่ 21  ครั้งที่ 10 / 2553  วันที่  29  เดือน  กันยายน  พ.ศ. 2553   ได้กำหนดระเบียบ   ว่าด้วย   การรับฝากเงินของสมาชิกสมทบ พ.ศ. 2553   ดังต่อไปนี้

หมวด 1

ข้อกำหนดทั่วไป

                                ข้อ 1.  ระเบียบนี้  เรียกว่า  “ระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขอุทัยธานี จำกัด  ว่าด้วย  การับฝากเงินของสมาชิกสมทบ พ.ศ. 2553”

                                ข้อ 2.  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในท้ายระเบียบนี้

                                ข้อ 3.  ให้ยกเลิก

                                                ระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขอุทัยธานี  จำกัด  ว่าด้วย  การรับฝากเงินของสมาชิกสมทบ พ.ศ. 2553   ซึ่งกำหนดไว้เมื่อวันที่ 28  เดือน  มกราคม  พ.ศ.  2553  ของคณะกรรมการดำเนินการ ชุดที่ 16  ครั้งที่  2 / 2553  บรรดาประกาศ  มติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ  ระเบียบอื่นใดที่มีอยู่ก่อนวันใช้ระเบียบนี้  ซึ่งมีข้อกำหนดขัดแย้งกับระเบียบนี้  และให้ใช้ระเบียบนี้แทน

ข้อ 4.  ในระเบียบนี้ 

สหกรณ์                                                 มายถึง      สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขอุทัยธานี จำกัด

                คณะกรรมการดำเนินการ                 หมายถึง              คณะกรรมการดำเนินการ ของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขอุทัยธานี จำกัด

                ประธานกรรมการ                               หมายถึง            ประธานกรรมการดำเนินการ ของ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขอุทัยธานี  จำกัด

                รองประธานกรรมการ                       หมายถึง              รองประธานกรรมการดำเนินการ ของ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขอุทัยธานี  จำกัด

                เหรัญญิก                                               หมายถึง  เหรัญญิก ของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุข อุทัยธานี จำกัด

                ผู้จัดการ                                                 หมายถึง             ผู้จัดการ ของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขอุทัยธานี จำกัด

                รองผู้จัดการ                                          หมายถึง              รองผู้จัดการ ของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุข อุทัยธานี  จำกัด

                ผู้ฝาก                                                      หมายถึง  สมาชิกสมทบของสหกรณ์ฯ

สมาชิกสมทบ                                      หมายถึง

(1)         ลูกจ้างชั่วคราว    หรือพนักงานราชการ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่

ปฏิบัติงานในท้องที่จังหวัดอุทัยธานี  หรือเป็นลูกจ้างชั่วคราวของสหกรณ์นี้  ที่มีคำสั่งจ้าง หรือสัญญาจ้างโดยได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน      และมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไม่น้อยกว่าหนึ่งปี       หรือ

(2)         บิดา   หรือมารดา   หรือ คู่สมรส    หรือ บุตรที่บรรลุนิติภาวะของสมาชิก

(บุตรที่บรรลุนิติภาวะ  หมายถึง  บุตรของสมาชิกที่มีอายุ  20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือ โดยการสมรส)

 

                                                                                          หมวด 2

                                                                            การเปิดบัญชีและการฝากเงิน

                                ข้อ 5.  สหกรณ์รับเงินฝากจากสมาชิกสมทบได้  2  ประเภท  คือ

(1)       เงินฝากออมทรัพย์

(2)       เงินฝากประจำ

ข้อ 6.  สมาชิกสมทบ  ที่ประสงค์จะเปิดบัญชีเงินฝากตามข้อ 5.      ให้มาติดต่อกับเจ้าหน้าที่

สหกรณ์ ณ สำนักงานสหกรณ์ด้วยตนเองและต้องยื่นหนังสือขอเปิดบัญชีเงินฝากตามแบบที่สหกรณ์กำหนด

ในกรณีที่สหกรณ์มีโครงการระดมเงินฝากเป็นกรณีพิเศษ   และประสงค์จะออกรับเงินฝาก

นอกสำนักงานสหกรณ์  ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินการ  พร้อมทั้งกำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัย

ข้อ 7.  การขอเปิดบัญชีเงินฝากทุกประเภท     ผู้ฝากต้องให้ตัวอย่างลงลายมือชื่อของตนเอง 

หรือของตัวแทน ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจถอนเงิน ตลอดจนให้เงื่อนไขเกี่ยวกับเงินฝากที่เปิดบัญชีนั้นไว้ต่อ สหกรณ์

การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับตัวอย่างลายมือชื่อที่ให้ไว้  จะมีผลต่อเมื่อผู้ฝากได้แจ้งเป็นหนังสือ

ต่อสหกรณ์  และสหกรณ์ได้พิจารณาเห็นเป็นการถูกต้องและตอบรับแล้ว

ลายมือชื่อทุกกรณีเกี่ยวกับเงินฝากให้เขียนด้วยหมึกทั้งต้องเขียนด้วยลายมือตนเอง  สหกรณ์จะ

ไม่รับการใช้ตราประทับแทนลายมือชื่อ   

                                ข้อ 8.  สมาชิกสมทบคนหนึ่ง  สามารถเปิดบัญชีเงินฝากได้  ดังนี้

(1)        เงินฝากออมทรัพย์  สมาชิกสมทบอาจเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ในสหกรณ์

ได้  โดยจำนวนเงินฝากในบัญชีนั้นต้องไม่น้อยกว่า  100.- บาท (หนึ่งร้อยบาทถ้วน)  และจะส่งเงินฝากเพิ่มขึ้นเมื่อใด และจำนวนเท่าใดก็ได้  ในกรณีที่สหกรณ์รับฝากเงินฝากออมทรัพย์ผ่านระบบ ATM  ของธนาคารกรุงไทย  จำกัด  ( มหาชน )  ผู้ฝากจะต้องทำบันทึกข้อตกลงกับสหกรณ์เพื่อขอใช้บริการ  ทั้งนี้  ผู้ฝากจะต้องมีบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ใช้กับบัตร  ATM  ของธนาคารกรุงไทย  จำกัด ( มหาชน )  และผู้ฝากต้องถือปฏิบัติตามที่สหกรณ์ได้จัดทำข้อตกลงไว้กับธนาคารกรุงไทย  จำกัด ( มหาชน )

(2)        เงินฝากประจำ  สมาชิกสมทบอาจเปิดบัญชีเงินฝากประจำในสหกรณ์ได้  โดย

จำนวนเงินฝากในบัญชีรายหนึ่ง ๆ  ต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า  1,000.- บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน)  และระยะเวลาฝากต้องไม่น้อยกว่า 3 เดือน 6 เดือน หรือ 12 เดือน

ข้อ 9. ในการเปิดบัญชีเงินฝาก ตามข้อ 8.สหกรณ์จะออกสมุดคู่ฝากให้ผู้ฝากยึดถือไว้สมุดคู่ฝากนั้น         

ผู้ฝากต้องรักษาไว้    เพื่อให้สหกรณ์ลงบันทึกรายการเงินฝาก  ดอกเบี้ย  เงินถอน  และเงินคงเหลือของตนที่จะมีขึ้นทุกรายการ

การลงบันทึกรายการดังว่าในสมุดคู่ฝากนั้น จะกระทำได้แต่โดยทางฝ่ายสหกรณ์ ซึ่งประธาน

กรมการ    หรือรองประธานกรรมการ   หรือเหรัญญิก   หรือผู้จัดการ   หรือ รองผู้จัดการ  เป็นผู้ลงลายมือชื่อย่อกำกับไว้เป็นสำคัญ  การลงบันทึกรายการในสมุดคู่ฝาก  โดยไม่เป็นไปตามที่กล่าวนี้ย่อมไม่มีผลผูกพันสหกรณ์  อนึ่ง  ถ้าผู้ฝากตรวจพบว่า  รายการใดในสมุดคู่ฝากคลาดเคลื่อน  ต้องแจ้งต่อสหกรณ์เพื่อแก้ไขให้  จะแก้ไขโดยประการอื่นไม่ได้

                                สมุดคู่ฝากเล่มที่ใช้เต็มแล้ว  หรือชำรุดจนใช้การไม่ได้  ให้นำมาคืนต่อสหกรณ์ เพื่อจะได้ยกเลิกสมุดคู่ฝากเล่มนั้น  และโอนยอดเงินคงเหลือเข้าสมุดคู่ฝากเล่มใหม่  โดยออกให้ผู้ฝากยึดถือไว้ต่อไป  สมุดคู่ฝากที่ยกเลิกนั้นผู้ฝากจะรับไปก็ได้

                                ผู้ฝากต้องเก็บรักษาสมุดคู่ฝากของตนไว้ในที่ปลอดภัย  ถ้าสมุดคู่ฝากหาย  ผู้ฝากต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อสหกรณ์โดยมิชักช้า  สหกรณ์จะนำยอดเงินคงเหลือเข้าสมุดคู่ฝากเล่มใหม่  ซึ่งออกให้ผู้ฝากยึดถือไว้ต่อไป  ส่วนสมุดคู่ฝากเล่มที่หาย  ให้ยกเลิก

                                ในกรณีที่สหกรณ์ออกสมุดคู่ฝากให้แก่ผู้ฝากครั้งแรกก็ดี  หรือออกเล่มใหม่ให้ต่อเล่มก่อน  ซึ่งลงรายการเต็มแล้วก็ดี  หรือชำรุดใช้การไม่ได้ก็ดี  สหกรณ์จะไม่คิดค่าธรรมเนียม  แต่กรณีที่สมุดคู่ฝากคนใดสูญหาย  สหกรณ์จะออกสมุดคู่ฝากให้  โดยคิดค่าธรรมเนียม เล่มละ 20 บาท (ยี่สิบบาทถ้วน)

ข้อ 10.  ในการส่งเงินเข้าบัญชีเงินฝากทุกครั้ง     ให้ทำใบส่งเงินตามแบบที่สหกรณ์กำหนด

และยื่นหลักฐานแนบสมุดคู่ฝาก  และจำนวนเงินฝากต่อเจ้าหน้าที่สหกรณ์  ณ  สำนักงานสหกรณ์  ทั้งนี้       ผู้ฝากหรือผู้อื่นจะเป็นคนส่งเงินก็ได้

เมื่อสหกรณ์ได้ลงบันทึกรายการจำนวนเงินฝากที่ได้รับนั้นในสมุดคู่ฝาก      และตรวจสอบ

เป็นการถูกต้องแล้ว  สหกรณ์จะคืนสมุดคู่ฝากให้ผู้ฝาก

ข้อ 11.  ค่าส่งเช็คเข้าบัญชีเงินฝาก     ต้องขีดคร่อมเช็คก่อน    สหกรณ์สงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะ

ไม่จ่ายเงินถอนจากรายการเช่นนั้น  จนกว่าจะเรียกเก็บเงินตามเช็คได้แล้ว  

หมวด 3

การกำหนดอัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาการคิดดอกเบี้ย วิธีการคิดดอกเบี้ยและการจ่ายดอกเบี้ย

                                ข้อ 12.  สหกรณ์จะให้คิดดอกเบี้ยเงินฝาก  ตามข้อ 5.  ในอัตราไม่เกินร้อยละ  7  ต่อปี  โดยจะได้ประกาศอัตราดอกเบี้ยให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป

                                ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์  ให้คำนวณเป็นรายวันตามยอดเงินคงเหลือ  และสหกรณ์จะคิดดอกเบี้ยทบเป็นเงินต้นเข้าบัญชีเงินฝากในวันที่ 16  ของทุกเดือน  และให้ผู้ฝากนำสมุดคู่ฝากไปขอปรับรายการเงินฝากได้ที่สำนักงานสหกรณ์ฯ

                                ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ  สหกรณ์ฯ จะคำนวณและจ่ายดอกเบี้ยให้ ดังนี้

1.             เมื่อถึงกำหนดระยะการฝาก

2.             ถ้าผู้ฝากไม่ถอนเงินฝากประจำเมื่อครบกำหนดพร้อมดอกเบี้ยจนพ้นกำหนดไปอีกเจ็ดวันก็เป็น

อันถือว่า  ผู้ฝากตกลงฝากต้นเงินฝากพร้อมดอกเบี้ยต่อไปอีกเท่าระยะเวลาเดิม  แต่ต่อมาภายหลัง  ผู้ฝากได้ถอนเงินฝากประจำก่อนครบกำหนด  สหกรณ์ฯ  จะจ่ายดอกเบี้ยให้ในอัตราดอกเบี้ยของเงินฝากประจำประเภท 3 เดือน ตามจำนวนเดือนเต็ม

3.             ถ้าผู้ฝากได้เปิดบัญชีเงินฝากประจำกับสหกรณ์ฯ  เป็นครั้งแรก  และได้ถอนเงินฝากประจำ

ก่อนครบระยะเวลาการฝาก  สหกรณ์ฯ จะไม่จ่ายดอกเบี้ยให้

หมวด 4

การถอนเงินฝากและการปิดบัญชี

                                ข้อ 13.  การถอนเงินจากบัญชีเงินฝาก  ต้องใช้ใบถอนเงินตามแบบของสหกรณ์ในการถอนเงินฝาก ผู้มีอำนาจตามที่ได้ให้ตัวอย่างลายมือชื่อไว้ต่อสหกรณ์ ต้องมารับเงินที่สำนักงานสหกรณ์ด้วยตนเอง  และต้องยื่นใบถอนเงินฝาก โดยลงลายมือชื่อตามที่ให้ตัวอย่างไว้นั้น พร้อมกับสมุดคู่ฝากต่อเจ้าหน้าที่สหกรณ์

                                ถ้าผู้มีอำนาจถอนเงินฝากจะมอบอำนาจให้ผู้ใดถอนเงินแทน  ก็ต้องทำใบถอนเงินฝากและต้องมอบอำนาจให้รับเงินแทนเป็นหนังสือไว้ในใบถอนเงินฝากนั้นด้วย  ทั้งนี้  โดยลงลายมือชื่อตามที่ได้ให้ตัวอย่างลายมือชื่อไว้แล้ว  มอบให้ผู้รับมอบอำนาจยื่นใบถอนเงินฝากนั้น  พร้อมด้วยสมุดคู่ฝากต่อเจ้าหน้าที่สหกรณ์  ณ  สำนักงานสหกรณ์    ในการนี้สหกรณ์จะเรียกหลักฐานพิสูจน์จากผู้รับมอบอำนาจก็ได้  เมื่อสหกรณ์ได้ตรวจสอบเป็นการถูกต้องแล้ว     จะจ่ายเงินถอนให้ และลงรายการเงินถอน พร้อมทั้งเงินคงเหลือในสมุดคู่ฝาก  แล้วคืนสมุดคู่ฝากให้ผู้ฝาก 

อนึ่ง  การเขียนใบถอนเงินฝากให้เขียนด้วยหมึก  ถ้ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงใด ๆ ผู้มีอำนาจ

ถอนเงินต้องลงลายมือชื่อตามที่ได้ให้ตัวอย่างกำกับด้วย

                                ข้อ 14.  การถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์นั้น    จะถอนเมื่อใดและจำนวนเท่าใดก็ได้  ส่วนการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำนั้น  ให้ถือปฏิบัติตามข้อ 12.

                                ข้อ 15. ในกรณีที่สหกรณ์ให้บริการถอนเงินผ่านระบบ    ATM     ของธนาคารกรุงไทย        จำกัด ( มหาชน ) ผู้ฝากเงินฝากออมทรัพย์ที่ประสงค์จะถอนเงินผ่านระบบ ATM  จะต้องทำบันทึกข้อตกลงกับสหกรณ์เพื่อขอใช้บริการ  ทั้งนี้  ผู้ฝากจะต้องมีบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ใช้กับบัตร ATM  ของธนาคารกรุงไทย จำกัด ( มหาชน ) และผู้ฝากต้องถือปฏิบัติตามที่สหกรณ์ได้จัดทำข้อตกลงไว้กับธนาคารกรุงไทย จำกัด ( มหาชน )

                                ข้อ 16.  ผู้ฝากจะถอนเงินฝากคงเหลือทั้งหมด  เพื่อปิดบัญชีเงินฝากของตนเมื่อใดก็ได้  โดยให้มีผู้มีอำนาจถอนเงินจดแจ้งไว้ท้ายรายการจำนวนเงินในใบถอนเงินฝากด้วยว่า  “เพื่อปิดบัญชี”

                                ข้อ 17.  ในกรณีที่ผู้ฝากถึงแก่กรรม  สหกรณ์จะจ่ายคืนเงินคงเหลือทั้งหมดในบัญชีเงินฝาก ให้แก่ผู้รับโอนประโยชน์ที่ได้ตั้งไว้  หรือถ้ามิได้ตั้งไว้     ก็คืนให้แก่บุคคลที่ได้นำหลักฐานมาแสดงให้เป็นที่พอใจ ต่อคณะกรรมการดำเนินการ  ว่าเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินจำนวนดังกล่าวนั้น

                                ข้อ 18.  ในกรณีที่คณะกรรมการดำเนินการ เห็นว่า  ผู้ฝากฝ่าฝืนระเบียบนี้  หรือก่อให้เกิดความยุ่งยากแก่สหกรณ์  หรือเห็นว่ามีเหตุอันสมควรที่จะปิดบัญชีเงินฝากของผู้ฝาก  สหกรณ์จะไม่รับเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ฝากอีก  และให้ผู้ฝากถอนเงินคงเหลือทั้งหมดเพื่อปิดบัญชีเงินฝากของตน  ทั้งนี้  สหกรณ์จะแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้ฝาก

                                ข้อ 19.  การถอนเงินฝากเพื่อปิดบัญชี  ตามข้อ 16. และ ข้อ 17.  สหกรณ์จะคำนวณดอกเบี้ยให้ตามข้อ 12. ถึงวันก่อนวันถอนหนึ่งวัน  เว้นแต่  การปิดบัญชีเงินฝากในกรณีที่ผู้ฝากฝ่าฝืนระเบียบนี้  ตามข้อ 18. สหกรณ์จะคำนวณดอกเบี้ยให้ถึงก่อนวันที่แจ้งหนึ่งวัน  และสหกรณ์จะไม่ให้ดอกเบี้ยอีก  ไม่ว่าผู้ฝากจะถอนเงินเมื่อใด

                                เมื่อสหกรณ์ได้จ่ายเงินคืนผู้ฝากแล้ว  จะยกเลิกสมุดคู่ฝากสำหรับบัญชี  นั้น

 

ประกาศ  ณ  วันที่  30  เดือน  กันยายน    พ.ศ.  2553

                        ลงชื่อ            นิพนธ์    โตวิวัฒน์

                              (นายแพทย์นิพนธ์  โตวิวัฒน์)

          ประธานกรรมการ

                  สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขอุทัยธานี  จำกัด

 



Ŵ  ดาวห์โหลดข้อมูลเพิ่มเติม